คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ยุคแรกเริ่ม
นับจาก พ.ศ. 2480 จนถึง พ.ศ. 2560 รวมเวลา 80 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้เริ่มก่อตั้งจากโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย ก่อนปี พ.ศ. 2491 วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สอนในระดับประถม และมัธยมศึกษา ในปี พ.ศ. 2501 ได้ เปิดสอนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสวนสุนันทา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิทยาศาสตร์จัดเป็นหมวด วิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วย ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์และ วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ยุคกลาง
ในปี พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยครูสวนสุนันทา จัดเป็นคณะวิชาวิทยาศาสตร์ มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการอบรมครูประจําการวิชาวิทยาศาสตร์ และเปิดสอนระดับปริญญาตรีสายครุศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2527 ได้กําหนดให้วิทยาลัยครูเปิดสอนได้ 3 สาขาคือ สาขาการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาศิลปศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์จึงได้ เปลี่ยนเป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 9 ภาควิชา และ 2 โปรแกรม วิชา ปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยครูเป็นสถาบันราชภัฏ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอน 2 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา ที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ใน ปี พ.ศ. 2545 นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาได้ย้ายไปอยู่ในความรับผิดชอบของคณะ ครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเปิดสอนเฉพาะสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ยุคปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเป็นคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเปิดสอนในสาขา วิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี 4 ปี ได้แก่ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเคมี สาขา วิชาชีววิทยาประยุกต์ สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
พ.ศ. 2549 คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี เพิ่ม 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยี ชีวภาพ และสาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ และระดับปริญญาโท (ภาคพิเศษ) 2 สาขาได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา และสาขา วิชาการจัดการและควบคุมมลพิษพร้อมทั้ง จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ ตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วน ราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
พ.ศ. 2552 คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 14 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ สาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเคมี สาขา วิชาชีววิทยาประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชา การแพทย์แผนไทยประยุกต์ สาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ สาขาวิชาจุลชีววิทยา และสาขาวิชา อุตสาหกรรมอาหารและการบริการ (ปิด หลักสูตรฟิสิกส์) และระดับปริญญาโท (ภาคพิเศษ) 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา(ภาคพิเศษ) 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา การจัดการและควบคุมมลพิษ และสาขาวิชา นิติวิทยาศาสตร์ (ปิดหลักสูตรคณิตศาสตร์ ศึกษา ภาคพิเศษ)
พ.ศ. 2553 คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเปิดสอนระดับปริญญาตรี เพิ่มอีก 4 สาขาวิชา คือ ฟิสิกส์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม (ปิดหลักสูตรจุลชีววิทยา) และชีววิทยา (ปิดหลักสูตรชีววิทยาประยุกต์) รวมหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 16 สาขาวิชา และระดับปริญญาโท 2 สาขาวิชา
พ.ศ. 2554 คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี เพิ่ม 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ)
พ.ศ. 2555 สาขาวิชาในสังกัดคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจํานวน 4 สาขา วิชา ได้แก่ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ดูแล เด็กเล็กและผู้สูงอายุ) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สุขภาพและความงาม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพได้ย้ายออกเป็น หน่วยงานภายนอกภายใต้สังกัดวิทยาลัย สหเวศศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีหลักสูตรระดับปริญญาตรีจํานวน 13 สาขาวิชา โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย สาขาวิชา ต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สารสนเทศ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สาขาวิชา เคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม และภาค วิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ประกอบไปด้วย สาขาวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเทคโนโลยี ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขา วิชาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ สาขา วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2556 คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอก (ภาคพิเศษ) เพิ่มเติม ได้แก่ หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ ส่วนหลักสูตรระดับปริญญาตรี ยังคงมี จํานวน 13 สาขาวิชา เช่นเดิม
พ.ศ. 2557 คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท เพิ่มเติม คือ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การศึกษา (ภาคปกติ) ด้วยความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็น ความร่วมมือในการดําเนินงานผลิตครู สควค. ระยะที่ 3 ระดับปริญญาโททางการศึกษา
พ.ศ. 2558 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ การกีฬาและสุขภาพ ได้ย้ายจากวิทยาลัย สหเวชศาสตร์มาสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีรวมหลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีจํานวน 14 สาขาวิชา
พ.ศ. 2559 คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ เป็นหลักสูตรใหม่ ส่วนสาขา วิชาคหกรรมศาสตร์และสาขาวิชาอุตสาหกรรม อาหารและการบริการ มีการปรับปรุงหลักสูตร โดยทําการรวมทั้ง 2 สาขาวิชาไว้เป็นหลักสูตร เดียว คือ คหกรรมศาสตร์ ดังนั้น หลักสูตร ระดับปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในปัจจุบันมีจํานวน 14 สาขาวิชา ส่วนหลักสูตรระดับปริญญาโท (ภาคพิเศษ) ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรเดิม คือ การ จัดการและควบคุมมลพิษ มาเป็นหลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมแทน
พ.ศ. 2560 คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีได้ดําเนินการพัฒนาศักยภาพทาง ด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องงานวิจัย งานบริการ วิชาการ และได้จัดตั้งศูนย์การทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพ ผู้ประกอบการอาหารไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา ซึ่งมีผู้สนใจทั้งบุคคลภายในและ ภายนอกมหาวิทยาลัยเข้ามารับการทดสอบ ฝีมือการทําอาหารเป็นจํานวนมาก

ปรัชญา (Philosophy)
“มีความรู้ดี มีคุณธรรม นําชาติพัฒนา ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
วิสัยทัศน์ (Vision)
“มุ่งพัฒนาการศึกษาการวิจัยด้าน วิทยาศาสตร์และบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรมในการ พัฒนาสังคมและประเทศชาติ”
พันธกิจ (Mission)
- ผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่มีคุณภาพและคุณธรรมเพื่อ พัฒนาสังคม
- พัฒนาระบบการจัดการศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ
- พัฒนางานวิจัยและสร้างองค์ ความรู้ให้เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ
- บริการวิชาการและถ่ายทอด เทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมเพื่อยกมาตรฐาน ชุมชน
- สร้างเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ท้องถิ่นและทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
- บริหารจัดการองค์กรด้วยหลักการ บริการจัดการราชการที่ดี
ภารกิจหลัก (Key result area)
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับ แนวหน้าให้ตรงกับความต้องการของชุมชน และสังคมยุคประเทศไทย 4.0
- วิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเกิด องค์ความรู้สู่การพัฒนาท้องถิ่นตลอดจนการ พัฒนาภูมิปัญญาไทยสู่ประชาคมอาเซียนและ สากล
- ให้บริการวิชาการและถ่ายทอด เทคโนโลยีแก่ชุมชนสังคมและประชาคม อาเซียนอย่างมีคุณภาพรวมทั้งเป็นการยก มาตรฐานชุมชนสังคมและผู้ประกอบการ ขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMEs ให้ เข้มแข็ง
- อนุรักษ์และพัฒนาการให้บริการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์สู่ อาเซียน
เสาหลัก (Pillar)
ทรงปัญญาศรัทธาธรรมนําสังคม
(Wisdom, Alignment and Social Leadership)วัฒนธรรม (Culture)
1. การพัฒนาภูมิปัญญาสู่ชุมชน 2. การตรงเวลาสามัคคีมีคุณธรรม 3. การบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาลอัตลักษณ์ (Identity)
“เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญ การสื่อสาร ชํานาญการคิดมีจิตสาธารณะ”
เอกลักษณ์ (Uniqueness)
“เน้นความเป็นวัง ปลูกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้สู่สากล”
ค่านิยมหลัก (Core Values)
H (Happiness & Loyalty) ความผาสุกและความภักดีในองค์กร
I (Intergration& Collaboration) บูรณาการและความร่วมมือ
P (Professionalism) ความเป็นมืออาชีพ
ยุทธศาสตร์ (Strategic Thrusts)
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนามหาวิทยาลัย ให้เป็นเอตทัคคะอย่างยั่งยืน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างผลงานวิชาการ ตีพิมพ์ เผยแพร่ และสิทธิทางปัญญา
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงเครือข่าย
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายการยกย่อง ระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพและ มาตรฐานให้เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
- พัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง โดยมุ่งโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
- ศึกษาวิจัยและพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการชี้นํา ในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
- เผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย
- เพื่อพัฒนาวิชาการที่สามารถนําไปให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นและสังคม
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรปริญญาตรี (ภาคปกติ)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ
- สาขาวิชาชีววิทยาสิ่งแวดล้อม
- แขนงวิชาชีววิทยา
- แขนงวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมอาหารและนวัตกรรมชีวภาพ
- แขนงวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์
- แขนงวิชานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
- แขนงวิชาเคมี
- แขนงวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
- แขนงวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมข้อมูล
- แขนงวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- แขนงวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์สถิติเชิงธุรกิจ
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (สท.บ.)
-
สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัลและคอนเทนท์
- แขนงวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัล
- แขนงวิชาการจัดการดิจิทัลคอนเทนท์
หลักสูตรปริญญาโท (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
ภาคปกติ- ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การศึกษา (Master of Education Program in Science Education)
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ (Master of Science Program in Forensic Science)
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม (Master of Science Program in Environmental Management)
หลักสูตรปริญญาเอก (ภาคพิเศษ)
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ (Doctor of Philosophy Program in Forensic Science)
เข้าสู่เว็บไซต์ของคณะ