คณะศิลปกรรมศาสตร์

คณะศิลปกรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ในภูมิทัศน์ที่เด่นเป็นสง่า ติดกำแพงแดงด้านถนนราชวิถี   มีโรงละคร หอศิลป์ รวมทั้งห้องปฏิบัติการทางวิชาชีพด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ และการละคร  เมื่อครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาครบรอบ 75 ปี (พ.ศ. 2555) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  รัชกาลที่ 10 (ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร)ทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ “ม.ว.ก.” และพระราชทานนาม “อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวชิราลงกรณ” เป็นอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่า 40 ปี โดยย้อนกลับไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ที่เริ่มมีภาควิชา “ดนตรีและนาฏศิลป์” เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกนาฏศิลป์ขึ้นเป็นแห่งแรกจากวิทยาลัยครูทั้งหมด 36 แห่ง  ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการขยายหลักสูตรเพิ่มเป็น “ภาควิชาดนตรี” และ “ภาควิชาศิลปะ” ตามลำดับ   อนึ่ง ด้วยความโดดเด่นของผลงานทั้งจากภาควิชาและนักศึกษา  ส่งผลให้ศาสตร์ทางด้านศิลปกรรมของสวนสุนันทาได้รับการยอมรับทั้งจากประชาคมภายในและภายนอกเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2542 รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก  บุญเรืองรอด  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในสมัยนั้น จึงมีความคิดที่จะรวมสาขาวิชานาฏศิลป์ ดนตรี และศิลปะ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาให้สวนสุนันทาเป็นผู้นำด้าน “ศิลปกรรม” แห่งหนึ่งของประเทศ  จึงได้ริเริ่ม “โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์” ขึ้น  โดยแยกกลุ่มวิชาด้านศิลปะทั้งหมดออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแบ่งการบริหารจัดการออกมาอย่างอิสระ  พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษในสมัยนั้น รักษาการในตำแหน่งคณบดี

จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ผดุง ศิริรัตน์ (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์)  อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาศิลปะ  ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีเป็นคนต่อมา  และได้สานต่อ ผลักดันนโยบายการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม   จวบจนปี พ.ศ. 2547 กฎหมายว่าด้วย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี “คณะศิลปกรรมศาสตร์” จึงได้รับการยอมรับให้เป็นคณะโดยสมบูรณ์ มีประกาศไว้ในกฎกระทรวงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548  จึงนับเป็นวันที่คณะได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในมหาวิทยาลัย   โดยได้มีคณบดีเข้ามาบริหารคณะจนถึงปัจจุบันจำนวน 3 ท่าน ได้แก่

  • พ.ศ. 2548-2552 รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด  กิจขันธ์  (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์)
  • พ.ศ. 2552-2556 รองศาสตราจารย์จารุพรรณ  ทรัพย์ปรุง (วาระที่ 1)
  • พ.ศ. 2556-2560 รองศาสตราจารย์จารุพรรณ  ทรัพย์ปรุง (วาระที่ 2 ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ดร.)
  • พ.ศ. 2560-2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา  มณีวัฒนา
  • พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพงศ์ อินเกื้อ

คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้จัดการศึกษา และให้บริการวิชาการด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์และการละคร โดยปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของสังคมมาอย่างต่อเนื่อง  ปัจจุบันมีหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ดังนี้

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มี 6 หลักสูตร
  1. สาขาวิชาจิตรกรรม
  2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
  3. สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์
    • แขนงวิชาการออกแบบแฟชั่น
    • แขนงวิชาการออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์
  4. สาขาวิชาศิลปะการแสดง
    • แขนงวิชานาฏศิลป์ไทย
    • แขนงวิชาศิลปะการละครและความเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์์
  5. สาขาวิชาดนตรี
  6. สาขาวิชาการออกแบบและนวัตกรรมดิจิทัล
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มี 1 หลักสูตร
  1. สาขาวิชาศิลปะการแสดง
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มี 1 หลักสูตร
  1. สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มี 2 หลักสูตร
  1. สาขาวิชาศิลปะการแสดง
  2. สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ

พันธกิจ (Mission)

  1. พัฒนาทรัพยากรบุคคล ทั้งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ให้มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ และมีความผาสุข
  2. ผลิตบัณฑิตทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ศักยภาพสูง บัณฑิตวิจัย สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมสู่ตลาดแรงงาน เป็นผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้านอารมณ์ ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซื่อสัตย์สุจริต และมีบุคลิกที่ดี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก สู่ระดับนานาชาติ
  3. เอตทัคคะทางด้านวิชาการในระดับนานาชาติ มีหลักสูตรที่ทันสมัย สามารถตอบโจทย์สังคม ในอนาคต และสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
  4. ส่งเสริมและผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรมงานวิจัย งานสร้างสรรค์และบริการวิชาการ บูรณาการข้ามศาสตร์เกิดผลงานที่สามารถชี้นำสังคม สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างรายได้กับคณะฯ และมหาวิทยาลัย

เสาหลัก (Pillar)

  1. Research  based               การพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัย
  2. Economic  value  added      การสร้างมูลค่าเพิ่ม
  3. Collaboration                   ความเป็นหนึ่งเดียว
  4. Professionalism                ความเป็นมืออาชีพ
  5. Culture                         วัฒนธรรมแห่งความเป็นไทยและความมีรสนิยมสุนทรียะ

อัตลักษณ์ (Identity)

เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ


เอกลักษณ์ (Uniqueness)

เป็นแม่แบบที่ดีด้านศิลปกรรมศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในสากลอัตลักษณ์ (Uniqueness)


ค่านิยมหลัก (Core Values)

W (Wisdom & Creativity) ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์
H (Happiness & Loyalty) ความผาสุกและความภักดีในองค์กร
I (Intergration& Collaboration) บูรณาการและความร่วมมือ
P (Professionalism) ความเป็นมืออาชีพ

ห้องปฏิบัติการ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์

  1. โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ชั้น 2
  2. ห้องประชุม (ห้องประชุมคณาจารย์) ชั้น 1 บริเวณสํานักงานคณบดี
  3. หอศิลป์สวนสุนันทา ชั้น G
  4. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้คณะศิลปกรรมศาสตร์ ชั้น G
  5. ศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 (จํานวน 50 เครื่อง)
  6. ห้องปฏิบัติการเครื่องแมคอินทอช สําหรับรายวิชาการออกแบบ ชั้น M (จํานวน 25 เครื่อง)
  7. ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ไทย ชั้น 4
  8. ห้องปฏิบัติการดนตรี ชั้น 5
  9. ห้องซ้อมดนตรี ชั้น 5
  10. ห้องบันทึกเสียง ชั้น 5
  11. ห้องปฏิบัติการภาพพิมพ์ ชั้น G

เข้าสู่เว็บไซต์ของคณะ
Top