วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์

วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีประวัติความเป็นมาดังนี้

พ.ศ. 2557 สาขาวิชาสถาปัตยกรรม เปิดสอนครั้งแรกเป็นหนึ่งในสาขาของคณะ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะพิจารณาเห็นว่า สถาปัตยกรรมเป็นสาขาวิชาที่จะมีความต้องการและมี ความสําคัญเพิ่มขึ้นมากในอนาคต โดยเฉพาะ อย่างยิ่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็น 1 ใน 7 วิชาชีพภาคบริการที่จะต้องมีการเปิดเสรีตาม ข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งมีการประเมินว่า สถาปนิกจะได้มี โอกาสไปทํางานในกลุ่มประเทศอาเซียน มากขึ้นอันจะตอบสนองในการพัฒนาวิชาชีพ สถาปัตยกรรมในอนาคต

จากเหตุผลดังกล่าว สาขาวิชาสถาปัตยกรรม จึงได้ขอเสนอโครงการจัดตั้งส่วนงาน ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมออกมาตั้งเป็น วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของนักศึกษาและผู้ปกครองที่ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันจะตอบสนองต่อ การพัฒนาประเทศในอนาคต โดยมีหน้าที่ หลักในการจัดการเรียนการสอน เป็นกลไก ในการบุกเบิกวิชาการ การพัฒนาบุคลากร และส่งเสริมการวิจัยทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อความเป็นเลิศ ทางวิชาการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการ บริหารงานสะดวกคล่องตัวขึ้น รวมทั้งเป็น แหล่งสร้างสมและบริการความรู้ข้อมูล และ บุคลากรที่มีประสบการณ์แก่สังคม อีกทั้งยัง ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการอย่างแท้จริง

และได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ให้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2559 โดยสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ เวสน์ ดํารงตําแหน่งคณบดีวิทยาลัย สถาปัตยกรรมศาสตร์คนแรก พ.ศ. 2560 วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ ดําเนินการพัฒนาหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรการ งานก่อสร้าง (วท.บ) และจะเปิดให้มีการเรี การสอนในปีการศึกษา 2561 เป็นหลัก มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพ บริหารงานก่อสร้างที่มีความรู้ความชํานาญ ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ตอบสนองต่อ ความต้องการกําลังคนด้านการบริหารงาน ก่อสร้างต่อไป


วิสัยทัศน์ (Vision)

มุ่งผลิตบัณฑิตสู่ความเป็นมืออาชีพ พันธกิจ (Mission)
  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ
  2. วิจัย และสร้างองค์ความรู้ด้าน สถาปัตยกรรมศาสตร์สู่การพัฒนาสถาปัตยกรรมและสังคม
  3. ให้บริการวิชาการ ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์แก่ผู้ใช้บริการชุมชน ให้ตรงตามความต้องการต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  4. อนุรักษ์ ส่งเสริมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย

ภารกิจหลัก (Key result area)

  1. พัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษา และการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตรงตาม ความต้องการของชุมชนและสังคมโดยใช้ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความรู้คู่คุณธรรม รู้จักใช้ชีวิตอย่างมีความสุขด้วยความพอเพียง
  2. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้าน สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์
  3. บริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์แก่ ชุมชนและสังคม
  4. อนุรักษ์ ส่งเสริมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม สืบสานและสืบทอดวัฒนธรรมที่ เกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิตของชุมชน

เสาหลัก (Pillar)

  1. ทุนความรู้ (Knowledge Capital)
  2. คุณธรรม (Morality)
  3. เครือข่าย (Partnership)
  4. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
  5. วัฒนธรรม (Culture) ที่ว่า “ความเป็นแบบอย่างที่ดีตามวิถีของ รัตนโกสินทร์”

วัฒนธรรม (Culture)

มีระบบอาวุโส มีความเอื้ออาทร และ คุณธรรมที่ดีงาม


อัตลักษณ์ (Identity)

เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญ การสื่อสาร ชํานาญการคิด มีจิตสาธารณะ


ค่านิยมหลัก (Core Values)

W (Wisdom & Creativity) ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์
H (Happiness & Loyalty) ความผาสุกและความภักดีในองค์กร
I (Intergration& Collaboration) บูรณาการและความร่วมมือ
P (Professionalism) ความเป็นมืออาชีพ

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Thrusts)

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาวิทยาลัยให้เป็นเอตทัคคะอย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างผลงานวิชาการสู่การยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยงเครือข่ายท้องถิ่น
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายการยกย่อง ระดับนานาชาติ

เข้าสู่เว็บไซต์ของคณะ
Top