วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ระบุไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้ มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสุขภาพของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและการบริการทางสาธารณสุข ของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาน ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด ประเทศไทยจึงได้ดําเนินการปฏิรูประบบสุขภาพและได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ซึ่งการที่จะบรรลุตามเป้าหมายนั้นได้จะต้องมีบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อให้บริการ ทางสาธารณสุขให้มีจํานวนเพียงพอ และมีประสิทธิภาพที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ที่จะช่วยตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ตลอดจนความเสมอภาคของประชาชน ในการได้รับการบริการสุขภาพ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจึงมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินการพัฒนา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตโดยคณะ กรรมการมีหน้าที่วางแผนและกําหนดทิศทาง ในการเปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์และ ดําเนินโครงการจัดตั้งวิทยาลัยพยาบาลและ สุขภาพ จัดทําหลักสูตร ดําเนินการในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปิดสอนและ การจัดตั้งวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
คณะกรรมการฯได้ยกร่างหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต และประชุมวิพากษ์ หลักสูตร 2 ครั้ง โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการสภาวิชาการของมหาวิทยาลัย และนําเข้าสู่การพิจารณา ของสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุม เมื่อ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งสภา มหาวิทยาลัยมีมติให้ความเห็นชอบหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. 2550 และอนุมัติการเปิดรับนักศึกษาในภาค เรียนที่ 1/2550 ต่อมาสภามหาวิทยาลัยมีมติ ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 อนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาลัย พยาบาลและสุขภาพ และสภาการพยาบาล มีมติให้การรับรองวิทยาลัยพยาบาลและ สุขภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550
ในปีการศึกษา 2550 วิทยาลัยพยาบาล และสุขภาพเริ่มเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตเป็นปีแรก โดยรับนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตรุ่นแรก จํานวน 80 คน
ปีที่เปิดดําเนินการหลักสูตรครั้งแรก : ปีการศึกษา 2550 (หลักสูตร พ.ศ. 2550)
หลักสูตรที่เปิดสอนในปัจจุบัน : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2561 อยู่ระหว่างดําเนินการ ขอรับรองหลักสูตร
ปรัชญา
“ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นําสังคม”
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์และสาขาวิชาด้านสุขภาพ ที่มีความรู้ความสามารถทั้งด้านทฤษฎีและ ด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานของวิชาชีพ มี คุณธรรมและจริยธรรมในการดําเนินชีวิตและ ประกอบวิชาชีพ มีภาวะผู้นํา และมีทักษะใน การใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารและการทํางานในระดับสากล
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันการศึกษาที่บริหารจัดการ การศึกษา และการผลิตบัณฑิตด้านการ พยาบาลและสุขภาพให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานสากล และมีคุณธรรม
พันธกิจ
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ กําหนด พันธกิจ ดังต่อไปนี้- พัฒนาการจัดการศึกษาด้านการ ผลิตบัณฑิตด้านการพยาบาลและสุขภาพให้มีคุณภาพ
- วิจัยและสร้างสรรค์องค์ความรู้ทาง ด้านการพยาบาลและสุขภาพ
- ให้บริการวิชาการทางด้านการ พยาบาลและสุขภาพแก่ชุมชนและสังคม เพื่อ พัฒนา คุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม
- อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนาและทํานุ บํารุงศิลปะและวัฒนธรรม
- บริหารจัดการองค์กรด้วยหลัก ธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์ ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิตจะมีคุณสมบัติและ มีความสามารถดังนี้- มีความรอบรู้ในศาสตร์ทางการ พยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและสามารถ ประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการ ปฏิบัติการพยาบาลทั่วไป
- มีทักษะในการใช้ศาสตร์และศิลป์ ทางการพยาบาลและใช้กระบวนการพยาบาล ในการปฏิบัติการพยาบาลอย่างองค์รวมแก่ ผู้ใช้บริการทุกช่วงวัยได้อย่างครอบคลุมทั้ง ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสภาพภายใต้ กฎหมายและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
- สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีเหตุผล มีวิจารณญาณและแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ในการปฏิบัติการพยาบาล
- มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพใน ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีความเอื้ออาทร และมีศรัทธาต่อวิชาชีพการพยาบาล
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการแสดงออกที่เหมาะสม มีความเป็นผู้นํา และมีความ สามารถในการปรับตัวในการปฏิบัติงานร่วมกับทีมวิชาชีพด้านสุขภาพ
- สนใจใฝ่รู้ ร่วมมือในการวิจัยและ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- มีความสามารถในการใช้ภาษา อังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศในการ ปฏิบัติการพยาบาลและการติดต่อสื่อสาร
เข้าสู่เว็บไซต์ของคณะ