คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการพัฒนาควบคู่กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทาในระยะแรกเริ่มยังมิได้แยกเป็น คณะวิชาคณาจารย์สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์รับผิดชอบการสอนรายวิชา ต่างๆ ที่เป็นส่วนสําคัญของหลักสูตรการ ศึกษาในปี พ.ศ. 2518 มีพระราชบัญญัติให้ วิทยาลัยครูทุกแห่งเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาจึงได้มีการก่อตั้ง “คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” โดยได้เปิดสอนในระดับ อนุปริญญาระดับปริญญาตรี 4 ปี และ ปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) สาขา การศึกษามีวิชาเอก 3 วิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา หลังจากนั้นใน ปี พ.ศ. 2527 มีการพัฒนาหลักสูตรและ เปิดสอนหลักสูตรศิลปะศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2535 “คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เปลี่ยนเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์” ตามพระราชบัญญัติสถาบัน ราชภัฏและตําแหน่ง “หัวหน้าคณะ” เปลี่ยน เป็น “คณบดี” โดยมีภาควิชาในกํากับดูแล 11 ภาควิชาต่อมาในปี พ.ศ. 2542 มีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาควิชาเป็นโปรแกรม วิชาตามหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิต จํานวน 11 โปรแกรมวิชา และในปี พ.ศ. 2543 โปรแกรม วิชาศิลปกรรม โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละคร และ โปรแกรมดนตรีแยกไปตั้งเป็นคณะศิลปกรรม ศาสตร์ คณะฯจึงมีโปรแกรมที่เปิดสอนใน ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาการศึกษาและ สาขาศิลปศาสตร์ รวม 7 โปรแกรมวิชา

เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศมากขึ้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะได้เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีนเป็นวิชาเลือกของโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิชาเลือกเสรีของโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ และโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษซึ่งมีนักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปีการศึกษา 2545 คณะฯจึงได้จัดทําศักยภาพของโปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น และโปรแกรมวิชาภาษาจีน ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรแผนการเรียน อาจารย์ผู้สอนสื่อการสอนแหล่งวิทยาการ แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยเปิดสอน “โปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น” และ “โปรแกรมวิชาภาษาจีน” ในระดับปริญญาตรีในปีการ ศึกษา 2546 ได้มีการทําความร่วมมือทาง วิชาการกับมหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน (Yunnan Normal University) ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนในการจัดตั้งศูนย์ ภาษาและวัฒนธรรมจีน (Chinese Language and Culture Center) โดยทําพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545 และได้เปิดอบรมหลักสูตร ภาษาจีนให้กับคณาจารย์และประชาชนผู้สนใจ รวมทั้งให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยใน การจัดการเรียนการสอน “โปรแกรมวิชาภาษาจีน” ระดับปริญญาตรี 4 ปีต่อมาในปี การศึกษา 2546 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ลงนามความร่วมมือทาง วิชาการในการจัดการศึกษาสําหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน (Joint Venture 2+2 Bachelor's Degree Program) ทั้งนี้นักศึกษาจะเรียนที่มหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน 2 ปี และอีก 2 ปี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในสาขา วิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ บริการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยนักศึกษาชาวจีนดังกล่าวจะเริ่มเรียนที่ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และบริการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป

อนึ่งในปีการศึกษา 2547 คณะได้ ดําเนินการพัฒนาหลักสูตรและเปิดสอนระดับ ปริญญาตรี 4 ปี ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการ ทางวัฒนธรรมในปีการศึกษา 2548 ได้เปิด การเรียนการสอนเพิ่ม 2 สาขาวิชา คือ สาขา วิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก สาขา วิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ในปีการ ศึกษา 2550 ได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ 2 สาขา วิชา คือ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม และสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ โดยสาขา วิชาการจัดการนวัตกรรมสังคมได้เปิดรับ นักศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2550 และสาขา วิชาการจัดการสารสนเทศเริ่มเปิดรับนักศึกษา ในภาคเรียนที่ 1/2551

ปีการศึกษา 2554 พัฒนาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตเปิดการสอน สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น

ปีการศึกษา 2555 คณะได้ดําเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมการบริหารปกครองท้องถิ่นและ สาขาวิชาการสอนภาษาจีน

ปีการศึกษา 2557 คณะได้ดําเนินการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตํารวจตามโครงการ ร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนนายร้อยตํารวจ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รับผิดชอบในการ จัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปให้กับนักศึกษาของคณะต่างๆ รวมทั้งสอนในรายวิชาเอก/วิชาเฉพาะให้กับนักศึกษาของคณะ รวมทั้งสิ้น 7 สาขาวิชาดังนี้

ระดับปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  1. สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  1. สาขาวิชาภาษาไทย
  2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  3. สาขาวิชาภาษาจีน
  4. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  5. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  6. สาขาวิชาการจัดการสังคมและวัฒนธรรม
    • แขนงวิชาการจัดการพัฒนาสังคม
    • แขนงวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปัจจุบัน สภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางแข่งขันกันมากขึ้น ดังนั้นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงต้องพัฒนาด้านการเรียน การสอน เพื่อก้าวให้ทันโลกและให้มีศักยภาพ ด้านบริการการศึกษาในระดับมาตรฐานให้ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาประเทศ


ปรัชญา

ทรงปัญญา ศรัธาธรรม นําสังคม


วิสัยทัศน์

ผู้นำการสร้างมืออาชีพเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน


พันธกิจ

ผลิตบัณฑิตที่เน้นองค์ความรู้สู่ ท้องถิ่น วิจัยบริการวิชาการและทํานุบํารุง ศิลปวัฒนธรรม


พันธกิจหลัก

  1. ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม
  2. พัฒนาระบบการจัดการศึกษา สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้และยกระดับการบริหารงานให้ได้มาตรฐานสากล
  3. วิจัยและสร้างนวัตกรรม ผลงานสร้างสรรค์ระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  4. สร้างเครือข่าย บริการวิชาการ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

เสาหลัก

  1. ทุนความรู้
  2. คุณธรรม
  3. เครือข่าย
  4. ความเป็นมืออาชีพ
  5. วัฒนธรรม ที่ว่า “ความเป็น แบบอย่างที่ดีตามวิถีของรัตนโกสินทร์”

วัฒนธรรม

ความดีงามและการปฏิบัติตน ในจริยวัตรแบบไทยและความเคารพผู้อาวุโส


อัตลักษณ์

เชี่ยวชาญวิชาการ ชำนาญวิชาชีพ เป็นดวงประทีปให้สังคม


เอกลักษณ์

ผลิตบุคลากรมืออาชีพ


ค่านิยมหลัก

W ความสามารถในการปรับตัว
H ศักดิ์ศรี
I ความรับผิดชอบต่อสังคม
P ความเป็นเลิศมืออาชีพ

เข้าสู่เว็บไซต์ของคณะ
Top